มาแล้วค่ะ ๆ ตามที่เราได้บอกไว้ในบทความที่แล้วว่า เราจะมีความแตกต่างระหว่าง Google Cardboard จากงาน Google I/O 2014 และ 2015 มาฝากกัน
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า Google Cardboard แบบแรกที่เราจะพูดถึงกันนั้น เป็นเวอร์ชันที่เปิดตัวในงาน Google I/O 2014 เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ เราจะขอเรียกสั้น ๆ ว่า V.1 ส่วน Google Cardboard อีกแบบ จะเป็นเวอร์ชันที่เปิดตัวใน
งาน Google I/O 2015 ขอเรียกสั้นๆ ว่า V.2 แทนล่ะกัน
สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า Google Cardboard คืออะไร อธิบายง่าย ๆ เลย Google Cardboard เป็น VR Headset ที่ทำมาจากกระดาษ เพียงแค่นำมาประกอบกันและใส่โทรศัพท์มือถือที่เปิดแอปพลิเคชัน VR เข้าไป ก็สามารถเข้าไปสัมผัสโลก VR ได้แล้ว
แค่วางโทรศัพท์มือถือไว้ใน Google Cardboard ก็เข้าไปสัมผัสโลก VR ได้แล้ว
นอกจากจะประกอบง่าย สามารถทำเองได้แล้ว ยังราคาถูกอีกด้วย ราคาประมาณ 20 – 30 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น อ้างอิงจาก https://www.google.com/get/cardboard/get-cardboard/ ซึ่งชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่มีใน Google Cardboard
ก็คือ
- เลนส์นูน 2 อัน ที่ช่วยปรับระยะการมองภาพในระยะใกล้ให้ชัดเจน
- Input Button ปุ่มกดเพื่อโต้ตอบกับวัตถุในโลก VR
- ตีนตุ๊กแก สำหรับยึดฝาส่วนที่ใส่โทรศัพท์มือถือเข้ากับตัว Cardboard
- กระดาษแข็งที่ตัดตามแพทเทิร์นของ Cardboard
ความแตกต่างระหว่าง Google Cardboard V.1 และ V.2
ขนาด
ขนาดของตัว Google Cardboard V.2 จะมีขนาดใหญ่กว่า V.1 นิดหน่อย สามารถใส่โทรศัพท์มือถือขนาดหน้าจอถึง
6 นิ้วได้ ซึ่งต่างจาก V.1 ที่ใส่โทรศัพท์มือถือขนาดหน้าจอ 6 นิ้วไม่ได้
ขนาดของตัว V.2 ใหญ่กว่า V.1 อย่างเห็นได้ชัด
เลนส์
เลนส์ของ V.1 เป็นเลนส์นูนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มม. ส่วน V.2 เป็นเลนส์นูนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 37 มม. สำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นเดียวกันและเปิดแอปพลิเคชันเดียวกันเมื่อนำไปใส่ใน V.1 จะเห็นวัตถุใน VR อยู่ไกลกว่าและ
มุมมองของภาพที่แคบ ส่วน V.2 จะเห็นวัตถุใน VR อยู่ใกล้กว่าและมุมมองของภาพกว้างกว่า
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์นูนของ V.1 เล็กกว่า V.2
Input Button
ใน V.1 จะใช้แม่เหล็ก 2 อัน เวลาเราต้องการกดปุ่มจะต้องดึงแม่เหล็กลง ส่วนใน V.2 จะใช้ Conductive Foam Button เมื่อเรากดปุ่ม ก็จะดันแผ่น Conductive Foam Pillow ไปแตะหน้าจอแทน ถือว่าเป็นการออกแบบที่ดีทีเดียว สามารถรองรับการใช้งานทุกประเภท รวมไปถึง Web Application ด้วย
ตัว Input Button ของ V.1 จะเป็นแม่เหล็ก ส่วน V.2 เป็น Conductive Foam
เมื่อกดปุ่ม Conductive Foam Button ที่อยู่ด้านบนของ V.2 จะดัน Conductive Foam Pillow ออกมา เพื่อแตะหน้าจอ
การใช้งาน
เมื่อซื้อ V.1 มาจะได้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของ Google Cardboard มาประกอบเอง สำหรับคนที่ไม่ชอบงาน DIY อาจจะ
ไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่
ชิ้นส่วนของ Google Cardboard V.1 ที่ต้องมาประกอบเอง
Cr. : http://betanews.com/2014/06/25/google-cardboard-is-a-real-thing-strap-a-smartphone-to-your-face/
ส่วน V.2 ตัว Google Cardboard มาพร้อมใช้งานอยู่แล้ว ไม่ต้องประกอบอะไรเพิ่มเติม และสามารถพับเก็บเป็นกล่องสี่เหลี่ยม พกพาได้ง่ายอีกด้วย
V.2 สามารถพับเก็บเป็นกล่องสี่เหลี่ยม เหมาะกับการพกพา
เป็นอย่างไรบ้างคะ ความแตกต่างระหว่าง Google Cardboard V.1 และ V.2 ที่เรานำมาฝากกัน ก็จะเห็นแล้วว่า Google Cardboard V.2 นั้น มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้รองรับการใช้งานที่ครอบคลุมและสะดวกมากขึ้น
สำหรับ Google Cardboard V.1 ที่เรานำมาเป็นตัวอย่างนั้นเป็นเวอร์ชันที่ซื้อจากเว็บไซต์ในไทย ส่วน V.2 เราได้รับแจกในงาน Game DevFest Bangkok 2015 นั่นเอง
ใครที่สนใจจะสั่งซื้อหรือทำ Cardboard ด้วยตัวเองก็สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ https://www.google.com/get/cardboard/get-cardboard/ แล้วมาสัมผัสประสบการณ์แบบ VR ไปด้วยกันค่ะ
Leave a Reply