Uncategorized
ความแตกต่างของ Google Cardboard จากงาน Google I/O 2014 และ 2015

ความแตกต่างของ Google Cardboard จากงาน Google I/O 2014 และ 2015

มาแล้วค่ะ ๆ ตามที่เราได้บอกไว้ในบทความที่แล้วว่า เราจะมีความแตกต่างระหว่าง Google Cardboard จากงาน Google I/O 2014 และ 2015 มาฝากกัน

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า Google Cardboard แบบแรกที่เราจะพูดถึงกันนั้น เป็นเวอร์ชันที่เปิดตัวในงาน Google I/O 2014 เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ เราจะขอเรียกสั้น ๆ ว่า V.1 ส่วน Google Cardboard อีกแบบ จะเป็นเวอร์ชันที่เปิดตัวใน
งาน Google I/O 2015 ขอเรียกสั้นๆ ว่า V.2 แทนล่ะกัน

14_

 

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า Google Cardboard คืออะไร อธิบายง่าย ๆ เลย Google Cardboard เป็น VR Headset ที่ทำมาจากกระดาษ เพียงแค่นำมาประกอบกันและใส่โทรศัพท์มือถือที่เปิดแอปพลิเคชัน VR เข้าไป ก็สามารถเข้าไปสัมผัสโลก VR ได้แล้ว

8_ 9_

แค่วางโทรศัพท์มือถือไว้ใน Google Cardboard ก็เข้าไปสัมผัสโลก VR ได้แล้ว

 

นอกจากจะประกอบง่าย สามารถทำเองได้แล้ว ยังราคาถูกอีกด้วย ราคาประมาณ 20 – 30 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น อ้างอิงจาก https://www.google.com/get/cardboard/get-cardboard/ ซึ่งชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่มีใน Google Cardboard
ก็คือ

  • เลนส์นูน 2 อัน ที่ช่วยปรับระยะการมองภาพในระยะใกล้ให้ชัดเจน
  • Input Button ปุ่มกดเพื่อโต้ตอบกับวัตถุในโลก VR
  • ตีนตุ๊กแก สำหรับยึดฝาส่วนที่ใส่โทรศัพท์มือถือเข้ากับตัว Cardboard
  • กระดาษแข็งที่ตัดตามแพทเทิร์นของ Cardboard

 

18

 

ความแตกต่างระหว่าง Google Cardboard V.1 และ V.2

ขนาด

ขนาดของตัว Google Cardboard V.2 จะมีขนาดใหญ่กว่า V.1 นิดหน่อย สามารถใส่โทรศัพท์มือถือขนาดหน้าจอถึง
6 นิ้วได้ ซึ่งต่างจาก V.1 ที่ใส่โทรศัพท์มือถือขนาดหน้าจอ 6 นิ้วไม่ได้

7_ 5_

 ขนาดของตัว V.2 ใหญ่กว่า V.1 อย่างเห็นได้ชัด

เลนส์

เลนส์ของ V.1 เป็นเลนส์นูนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มม. ส่วน V.2 เป็นเลนส์นูนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 37 มม. สำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นเดียวกันและเปิดแอปพลิเคชันเดียวกันเมื่อนำไปใส่ใน V.1 จะเห็นวัตถุใน VR อยู่ไกลกว่าและ
มุมมองของภาพที่แคบ ส่วน V.2 จะเห็นวัตถุใน VR อยู่ใกล้กว่าและมุมมองของภาพกว้างกว่า

6_

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์นูนของ V.1 เล็กกว่า V.2

Input Button

ใน V.1 จะใช้แม่เหล็ก 2 อัน เวลาเราต้องการกดปุ่มจะต้องดึงแม่เหล็กลง ส่วนใน V.2 จะใช้ Conductive Foam Button เมื่อเรากดปุ่ม ก็จะดันแผ่น Conductive Foam Pillow ไปแตะหน้าจอแทน ถือว่าเป็นการออกแบบที่ดีทีเดียว สามารถรองรับการใช้งานทุกประเภท รวมไปถึง Web Application ด้วย

4_

ตัว Input Button ของ V.1 จะเป็นแม่เหล็ก ส่วน V.2 เป็น Conductive Foam

1_

3_

เมื่อกดปุ่ม Conductive Foam Button ที่อยู่ด้านบนของ V.2 จะดัน Conductive Foam Pillow ออกมา เพื่อแตะหน้าจอ

การใช้งาน

เมื่อซื้อ V.1 มาจะได้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของ Google Cardboard มาประกอบเอง สำหรับคนที่ไม่ชอบงาน DIY อาจจะ
ไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่

ingredients-600x334


  ชิ้นส่วนของ Google Cardboard V.1 ที่ต้องมาประกอบเอง

Cr. : http://betanews.com/2014/06/25/google-cardboard-is-a-real-thing-strap-a-smartphone-to-your-face/

ส่วน V.2 ตัว Google Cardboard มาพร้อมใช้งานอยู่แล้ว ไม่ต้องประกอบอะไรเพิ่มเติม และสามารถพับเก็บเป็นกล่องสี่เหลี่ยม พกพาได้ง่ายอีกด้วย

10_ 11_

12_ 2_

V.2 สามารถพับเก็บเป็นกล่องสี่เหลี่ยม เหมาะกับการพกพา

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ ความแตกต่างระหว่าง Google Cardboard V.1 และ V.2 ที่เรานำมาฝากกัน ก็จะเห็นแล้วว่า Google Cardboard V.2 นั้น มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้รองรับการใช้งานที่ครอบคลุมและสะดวกมากขึ้น

สำหรับ Google Cardboard V.1 ที่เรานำมาเป็นตัวอย่างนั้นเป็นเวอร์ชันที่ซื้อจากเว็บไซต์ในไทย ส่วน V.2 เราได้รับแจกในงาน Game DevFest Bangkok 2015 นั่นเอง

 

13_

 

ใครที่สนใจจะสั่งซื้อหรือทำ Cardboard ด้วยตัวเองก็สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ https://www.google.com/get/cardboard/get-cardboard/ แล้วมาสัมผัสประสบการณ์แบบ VR ไปด้วยกันค่ะ

 

17_

Share this Story

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *